1. แนะนำ NECAST
NECAST (National Ethics Committee Accreditation System in Thailand) เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพ และให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน
2. มาตรฐานการวิจัยในคน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย (FERCIT) ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการวิจัยในคนของประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และได้พัฒนาระบบรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน (ระบบ NECAST: National Ethics Committee Accreditation System in Thailand) โดยอ้างอิงและมีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล (WHO/SIDCER/FERCAP) พร้อมจัดทำต้นแบบวิธีดำเนินการของคณะกรรมจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบันที่เป็นมาตรฐาน (Standard Operating Procedures: SOPs) การดำเนินงานที่สำคัญ คือ
2.1. พัฒนาให้มีระบบรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน (ระบบ NECAST) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน และให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน
2.2. จัดทำต้นแบบวิธีดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบันที่เป็นมาตรฐาน(SOP Template)
2.3. จัดทำหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ Human Subject Protection Course เพื่อพัฒนาขีดความสามารถคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสถาบัน นักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค ให้มีการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน และนักวิจัยให้เป็นไปตาม SOPs
2.4. จัดทำหลักสูตร Updated Survey Training ตามแนวทางของ WHO/SIDCER/FERCAP เพื่อพัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนที่ขอการรับรองจาก NECAST
นอกจากนี้ วช. ยังเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดมาตรฐานการวิจัยในคนระดับชาติ โดยความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ซึ่ง วช. ได้ลงนามความร่วมมือกับ 25 สถาบันภาคี (รวม 83 หน่วยงานภายใต้สถาบันภาคี) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดทำร่าง “พระราชบัญญัติการวิจัยในคน พ.ศ. ...” อยู่ในระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้มีกฎหมายตามมาตรฐานสากลและได้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการพัฒนาและกำกับมาตรฐานการวิจัยในคน
3. โครงการพัฒนามาตรฐาน
3.1. การเยี่ยมประเมินสถานภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน
3.2. การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนา คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน ให้มีมาตรฐานตาม มคจค.
3.3. การตรวจประเมินก่อนการขอรับการตรวจประเมินจาก SIDCER - NECAST (Pre-Audit)
3.4. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ
1. Surveyor
2. Human Subject Protection (HSP)
3. Good Clinical Practice (GCP)
4. SOP
4. การตรวจรับรองมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
4.1. Criteria ที่จะขอรับ
1. SIDCER – NECAST
2. NECAST
4.2. โครงการสนับสนุนการขอ NECAST 2557 – 2558
5. วัตถุประสงค์ของมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (มคจค.)
5.1. เพื่อให้สถาบันต่างๆได้ใช้เป็นหลักในการพัฒนาการดำเนินการของ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบันให้ได้มาตรฐาน
5.2. เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจประเมินและรับรองคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน